top of page
Tag Cloud
Featured Review
ค้นหา

โครงสร้างของระบบนิเวศ

  • รูปภาพนักเขียน: Pikunsri Rattanapong
    Pikunsri Rattanapong
  • 28 มี.ค. 2559
  • ยาว 1 นาที

ระบบนิเวศหนึ่ง ๆ ประกอบขึ้นมาจากสงิ่ มีชีวิตและสิ่ง แวดล้อม สงิ่ มีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศหนึ่ง ๆ มีมากมายหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีจำนวนหลาย ๆ ตัว ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจกล่าวคร่าว ๆ ได้ว่า สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง(Species) จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน บนพื้นที่หนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น จะเรียกว่าเป็นประชากร(population) และถ้าประชากรของสิ่งมีชีวิตหลาย ๆ ชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกันในมาตรของเวลา และสถานที่เดียวกัน จะเรียกว่าเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิต หรือสังคมของสิ่งมีชีวิต (Community หรือ Biotic Community) กลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความต้องการปัจจัยต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันรวมถึงความต้องการพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย (Habitat) และอาหาร ซึ่งทำให้แต่ละชนิดมีบทบาทและความสำคัญในระบบนิเวศ (Ecological Niche หรือ Niche) แตกต่างกันไป ประชากรที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความสำคัญมากในนิเวศนั้นถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเด่น (Dominantspecies) ประชากรที่มีจำนวนน้อยหรือมีบทบาทความสำคัญน้อยกว่าจะถูกเรียกว่า สิ่งมีชีวิตรอง (Associated species) จะเห็นได้ว่า ลักษณะโครงสร้างของระบบนิเวศมีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic Component) กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (AbioticComponent) 1. องค์ประกอบที่มีชีวิต 1) ผู้ผลิต (Producers) ได้แก่พืชสีเขียวทุกชนิดที่สามารถนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาสร้างอาหาร จากอินทรีย์สารและอนินทรีย์สาร ที่มีโครงสร้างทางเคมีที่ไม่ซับซ้อนได้เรียกว่า พวกออโตทรอฟิก (Autotrophic component) เมื่อพืชพวกนี้ตรึงพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงแล้วเปลี่ยนสภาพพลังงานแสงไปเป็นพลังงานทางชีวเคมี ในรูปคาร์โบไฮเดรท และโปรตีน ที่มีอยู่ในพืชซึ่งใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์ได้ 2) ผู้บริโภค (Consumers) ได้แก่ พวกที่ต้องพึ่งพาอาศัยพวกอื่นในการสังเคราะห์อาหารเพราะไม่สามารถสร้างอินทรีย์สารได้เอง ซึ่งเรียกว่า เฮทเทอโรทรอฟิก (Heterotrophic) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พวกตามลำดับดังนี้ (1) ผู้บริโภคปฐมภูมิ (Primary Consumers) ได้แก่ สัตว์ที่กินพืช (Herbivores) ผู้บริโภคเหล่านี้เป็นพวกที่กินและได้รับพลังงานจากพืช เช่น ช้าง ม้า วัว ควายแพะ แกะ และแมลงต่าง ๆ รวมทั้งผู้บริโภคเศษอินทรีย์ เช่น กิ้งกือ ไส้เดือน หอย (2) ผู้บริโภคทุติยภูมิ (Secondary Consumers) ได้แก่ สัตว์กินสัตว์ (Carnivores) เป็นผู้บริโภคประเภทสัตว์ที่กินพืชอีกทอดหนึ่ง เช่น กบ งู และปลา (3) ผู้บริโภคตติยภูมิ (Tertiary Consumers) ได้แก่ พวกที่กินทั้งสัตว์กินพืชและทั้งสัตว์กินสัตว์ (Top Carnivores) นอกจากนี้ยังได้แก่สงิ่ มีชีวิตที่ไม่ถูกกินโดยสัตว์อื่น ๆ ต่อไปกล่าวคือ เป็นสัตว์ที่อยู่ในลำดับสุดท้ายของการถูกกินเป็นอาหาร เช่น มนุษย์ จัดอยู่ในจำพวกที่กินอาหารทุกชนิดไม่เลือก เราเรียกว่าพวกออมนิวัวส์ (Ominvores) 3) ผู้ย่อยสลาย (Decomposers) ได้แก่พวกเห็ด รา แบคทีเรียหรือจุลินทรีย์ต่าง ๆ เป็นพวกที่ดำรงชีวิตโดยการดูดซึมอาหารในซากพืช ซากสัตว์ พวกนี้จะช่วยในการทำลายหรือย่อยซากพืช ซากสัตว์ให้เน่าเปื่อย จนในที่สุดจะสลายตัวเป็นธาตุอาหารและปุ๋ย ซึ่งเรียกว่าสารโภชนะ (Nutrient Pool) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตต่อไป 2. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต 1) สารอินทรีย์ ได้แก่ สารประกอบคาร์โบไฮเดรท เช่น แป้ง น้ำตาล เซลลูโลสสารประกอบโปรตีน ซึ่งรวมทั้งโพลีเพพไทด์ กรดอะมิโน และอื่น ๆ สารประกอบลิปิดส์(Lipids) เช่น ไขมัน น้ำมัน สารประกอบเหล่านี้อยู่ในสิ่งแวดล้อมในรูปของสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตตายไปก็จะสลายตัวเป็นขุยอินทรีย์ (Humus) มีสีคล้ำ หรือสีน้ำตาล มีคุณสมบัติช่วยให้ดินเหมาะสมในการเพาะปลูก 2) สารอนินทรีย์ ได้แก่ สารประกอบอนินทรีย์และแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น น้ำคาร์บอน ไนโตรเจน ตลอดจนแร่ธาตุทัง้ หมายที่อยู่ในวัฎจักรของสารในระบบนิเวศ 3) สภาพภูมิอากาศ (Climatic Conditions) เป็นปัจจัยทางกายภาพที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสงิ่ มีชีวิต ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณแสงแดด และลม เป็นต้น

ที่มา

http://e-book.ram.edu/e-book/g/GE317/chapter4.pdf

https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwjH5-OB0ufLAhWUC44KHfdlAuAQjB0IBg&url=https%3A%2F%2Fsites.google.com%2Fsite%2Fkrunee5678%2F2-khorngsrang-khxng-rabb-niwes&psig=AFQjCNG2dYFJKLxDi8N4HwJqZfNZEdXiuQ&ust=1459400862323606


 
 
 

Commentaires


© 2023 by The Book Lover. Proudly created with Wix.com

  • Grey Facebook Icon
  • Grey Twitter Icon
  • Grey Google+ Icon
bottom of page