top of page
Tag Cloud
Featured Review
ค้นหา

ความหมายระบบนิเวศ

  • รูปภาพนักเขียน: Pikunsri Rattanapong
    Pikunsri Rattanapong
  • 29 มี.ค. 2559
  • ยาว 1 นาที

ในอดีตกาลที่ผ่านมาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบนพื้นโลก มีอย่างอุดม สมบูรณ์ สามารถจุนเจือให้มนุษย์ได้ใช้ตลอดเวลา แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้ง ที่สอง พลโลกได้เพิ่ม ขึ้นและเพิ่ม อย่างรวดเร็ว ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมที่เคยมีนั้น ต้องถูกใช้และถูกทำลายเพื่อสนองความต้องการทั้งปัจจัยสี่ และเครื่องอำนวยความสะดวก ผลที่ตอบสนองดังที่ปรากฏให้เห็นทัว่ ทุกหนแห่ง เช่น ป่าไม้ลดลง อุทกภัยในฤดูฝน ภาวะแห้งแล้งในฤดูแล้ง น้ำเสียในลำห้วยลำคลองทัง้ ในเมืองและชนบท พื้นที่เกษตรเสื่อมค่าและให้ผลผลิตต่ำ การปนเปื้อนของวัตถุมีพิษในอาหารและสงิ่ แวดล้อม สัตว์น้ำลดลง สภาพสังคมมีการเห็นแก่ตัวและดุร้ายเพิ่ม ขึ้น เหล่านี้เป็นต้น ภาวการณ์ดังกล่าวได้รับความสนใจจากนานาประเทศรวมทั้ง ประเทศไทยด้วยการให้การศึกษาเป็นงานที่สำคัญ ทั้ง นี้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง หรือบุคคลที่สนใจมีความรู้ทัศนคติ ความรู้สึกความสำนึก และทักษะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมให้มีสภาพสมบูรณ์และสามารถเอื้ออำนวยให้แก่มนุษย์อย่างถาวร อนึ่ง การที่จะคงไว้ซึ่งสภาพแวดล้อมให้สมดุลและเป็นธรรมชาติดั้งเดิมนั้น จำเป็นอย่างยงิ่ ที่ต้องใช้ความรู้ทางด้านนิเวศวิทยา เพราะศาสตร์แขนงนี้สามารถที่จะประยุกต์ใช้อย่างได้ผลและสามารถแก้ไขปัญ หาเพราะในเนื้อหาสาระนั้นจะเน้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในระบบนิเวศน์ หน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ สหสัมพันธ์ขององค์ประกอบและกระบวนการทางนิเวศวิทยา ซึ่งสิ่ง เหล่านี้สามารถนำไปปฏิบัติได้ ความหมายของระบบนิเวศวิทยา

นิเวศวิทยา (Ecology) เป็นวิทยาการแขนงหนึ่งของชีววิทยา เกิดขึ้นเมื่อประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 นี้เอง โดยมีผู้เสนอคำศัพท์เพื่อใช้เรียกชื่อวิชานี้เป็นจำนวนมากแต่ไม่ได้รับการยอมรับ จนกระทัง่ ในปี ค.ศ. 1869 เอินท์แฮกเกิล (Ernst Haeckel) นักสัตววิทยาชาวเยอรมันได้เสนอคำว่า “Oekologie หรือ Ecology” จนเป็นที่ยอมรับกันในเวลาต่อมา คำว่า Ecology มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Oikos หมายถึง บ้านหรือที่อยู่อาศัย (Habitat) และคำว่า Logos หมายถึงการศึกษา (Study) ถ้าแปลโดยตรงแล้วหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเรื่องบ้าน โดยตามความหมายพื้นฐานแล้วนิเวศวิทยานั้น เป็นการศึกษาองค์ประกอบในบ้าน ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวนี้มีสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ส่วน “บ้าน” ในที่นี้หมายถึงธรรมชาติหรืออาณาบริเวณ จึงอาจกล่าวได้ว่านิเวศวิทยานั้น เป็นศาสตร์หรือเป็น การศึกษาองค์ประกอบในธรรมชาติ แต่การศึกษานั้นโดยแท้จริงแล้วต้องศึกษาพฤติกรรของ แต่ละสิ่งในธรรมชาติ ดังนั้น Odum (1971) จึงให้คำนิยามไว้ดังนี้ “นิเวศวิทยา เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม” คำนิยามนี้ก่อกำเนิดมาจากนักชีววิทยา จึงเน้นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่ง มีชีวิตต่อสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตในที่นี้หมายถึง สัตว์ พืช หรือมนุษย์ ส่วนสิ่งแวดล้อมในที่นี้หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่มีความสัมพันธ์ต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งหมายถึงที่อยู่อาศัยนั่นเองถ้าพิจารณาว่าสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งแวดล้อมประเภทหนึ่งเหมือน ๆ กับสิ่งไม่มีชีวิตแล้วนิเวศวิทยาควรจะมีความหมายว่าเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมต่อสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งไม่มีชีวิตต่อสิ่งไม่มีชีวิต หรือ สิ่งไม่มีชีวิตต่อสิ่งมีชีวิตก็ได้ ความสัมพันธ์ที่กล่าวไว้ในเบื้องต้นนี้ อาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมสองสิ่ง หรือมากกว่าสองสิ่งก็ได้ ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์มิได้มุ่งประเด็นว่าจะต้องเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งสองสิ่ง แต่เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งของต่าง ๆ ภายในกลุ่ม อาจ เป็นกลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อย กลุ่มของสิ่งมีชีวิต กลุ่มของสิ่งไม่มีชีวิต หรือกลุ่มคละกัน ระหว่างสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต หรืออาจเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสิ่ง (แวดล้อม) ก็ได้ ความสัมพันธ์อาจเป็นทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ได้ ถ้าความสัมพันธ์ดังกล่าวนั้นเป็น ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสงิ่ ขึ้นไป หรือเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสงิ่ ของ อย่างไร ก็ดี ความสัมพันธ์บางครัง้ อาจเป็นไปทางบวกหรือเป็นไปทางลบก็ได้ จะมีค่ามากน้อยขึ้นอยู่กับ ธรรมชาติของสงิ่ ของหรือกลุ่มของสงิ่ ของ หรือความสัมพันธ์อาจไม่เกี่ยวข้องกับขนาด ชนิด เพศหรืออายุ ด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว นิยามของคำว่านิเวศวิทยานั้น จึงหมายถึง “การศึกษาทั้งหมด หรือรูปแบบของความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตหรือสิ่งแวดล้อมต่อสิ่งแวดล้อม” ซึ่งคำ นิยามโน้มน้าวให้เห็นว่าทั้งหมดของความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นระหว่างสงิ่ สองสงิ่ มากกว่าสอง สิ่ง หรือระหว่างกลุ่มของสิ่งของจะต้องมีรูปแบบเฉพาะของความสัมพันธ์แตกต่างไปตาม ประเภทชนิด และพฤติกรรมของสงิ่ เหล่านั้น อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์อาจทำให้เกิดผลต่อไปนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง คือ (1) สมดุลธรรมชาติ (2) ภัยและอันตราย (3) การปนเปื้อนของมลสาร (4) การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ (5) การพัฒนา (6) อื่น ๆ มีข้อที่น่าสังเกตว่านิเวศวิทยานั้นอาจหมายถึงการศึกษาองค์ประกอบ หรือโครงสร้าง (structure) และหน้าที่ (function) ของธรรมชาติ (nature) ก็ได้ กล่าวคือในธรรมชาตินั้นจะมี องค์ประกอบมากมาย เช่น สัตว์ พืช มนุษย์ ดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้น องค์ประกอบ เหล่านี้ล้วนมีบทบาททางนิเวศวิทยาเฉพาะตัว ซึ่งเรียกว่า ecological niche พืชจะมีบทบาท เฉพาะแตกต่างไปจากน้ำ ดิน มนุษย์ สัตว์ หิน หรืออากาศ บทบาทที่แตกต่างกันไปเช่นนี้ จึง ทำให้สภาวะธรรมชาติของบริเวณแต่ละแห่งแตกต่างกันไป ถ้าองค์ประกอบหรือโครงสร้างของ ธรรมชาตินั้น แตกต่างกันไป องค์ประกอบหนึ่ง ๆ อาจมีบทบาทหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งก็ได้ทั้งนี้แล้วแต่บทบาทรวมขององค์ประกอบอื่น ๆ จะมีส่วนมาชักนำหรือมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด ยกตัวอย่าง เช่น ต้นไม้ ในป่ากับต้นไม้ในเมืองจะมีบทบาทแตกต่างกัน กล่าวคือต้นไม้ในป่านั้นเป็นที่เข้าใจได้ว่าให้ผลผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งแวดล้อมหรือระบบสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ๆ ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองนั้นถูกเข้าใจว่าเป็นเครื่องประดับความสวยงาม ให้ความร่มรื่น และความปลอดภัยของสงิ่ แวดล้อม เหล่านี้เป็นต้น ด้วยข้อสังเกตดังกล่าว จึงมีนักนิเวศวิทยาหลายท่านให้ความหมายของนิเวศวิทยากว้างออกไปอีก มีความหมายว่า “นิเวศวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งของสิ่งมีชีวิตที่สัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมทั้งมวล รวมทั้งความสัมพันธ์ภายในกลุ่มสิ่งมีชีวิตและระหว่างกลุ่มด้วย” อย่างไรก็ตาม ความหมายที่กล่าวมาแล้วทัง้ หมดนั้นล้วนแสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่านิเวศวิทยาเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อม อาจจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มของสิ่งแวดล้อม หรือระหว่างสิ่งแวดล้อมหนึ่งกับกลุ่มสิ่งแวดล้อมก็ได้

ที่มา

http://e-book.ram.edu/e-book/g/GE317/chapter4.pdf

https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&cad=rja&uact=8&ved=0ahUKEwia4ZPP0OfLAhWXCI4KHZqfBIkQjB0IBg&url=http%3A%2F%2Fyourpartymaker.blogspot.com%2F2013%2F11%2Ftypes-of-ecosystem.html&bvm=bv.118353311,d.c2E&psig=AFQjCNHvJAf9mCQbqKp4iiUc3jOWDn1maA&ust=1459400476410086


 
 
 

© 2023 by The Book Lover. Proudly created with Wix.com

  • Grey Facebook Icon
  • Grey Twitter Icon
  • Grey Google+ Icon
bottom of page